การจำแนกสารเคมี
เราจะจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างถูกต้องได้อย่างไร?
สารเคมีและวัตถุอันตรายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน การจำแนกประเภทสารเคมีอย่างถูกต้องช่วยให้สามารถจัดการและใช้งานได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
การจำแนกตามข้อกำหนดการขนส่งระบบ UN Class : UNRTDG
ระบบ UNRTDG หรือ UN Class เป็นการจำแนกสารเคมีอันตรายตามข้อกำหนดการขนส่งวัตถุอันตรายของสหประชาชาติ เป็น 9 ประเภท โดยต้องมีการติดฉลากหรือป้ายแสดงประเภทและความเป็นอันตราย
Class 1 – วัตถุระเบิด (Explosive)
Class 2 – แก๊ส (Gases)
2-1) แก๊สไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ (Non-flammable, non-toxic gases)
2-2) แก๊สพิษ (Toxic/Poison gases)
2-3) แก๊สไวไฟ (Flammable gases)
Class 3 – ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
Class 4 – ของแข็งไวไฟ สารที่ลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดแก๊สไวไฟ
4-1) ของแข็งไวไฟ (Flammable solids)
4-2) วัตถุที่ลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous combustion)
4-3) วัตถุที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดแก๊สไวไฟ (Substances which in contact with water emit flammable gases)
Class 5 – วัตถุออกซิไดซ์และออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ (Oxidizing substances and organic peroxides)
5-1) วัตถุออกซิไดซ์ (Oxidizing substances)
5-2) ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides)
Class 6 –วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ (Poisonous substances and infectious substances)
6-1) วัตถุมีพิษ (Toxic substances)
6-2) วัตถุติดเชื้อ (Infectious substances)
Class 7 – วัตถุกัมมันตรังสี (Radioactive materials)
Class 8 – วัตถุกัดกร่อน (Corrosive substances)
Class 9 – วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย (Miscellaneous)
การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบ GHS
ระบบ GHS : Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals เป็นการจำแนกและสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี การติดฉลาก (Label) และเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet) สำหรับติดบนภาชนะบรรจุสารเคมี
ด้านที่ 1 อันตรายด้านสุขภาพ (Health Hazards) แบ่งเป็น 10 ประเภท
1) ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Toxicity; Oral/Dermal/Inhalation)
2) การกัดกร่อน/การระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin Corrosion/Irritation)
3) การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง/การระคายเคืองต่อดวงตา (Serious Eye Damage/Eye Irritation)
4) การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง (Respiratory or skin sensitization)
5) การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell mutagenicity)
6) การก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
7) ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxicity)
8) ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย-การได้รับสัมผัสครั้งเดียว (Specific target organ toxicity-Single exposure)
9) ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย-การได้รับสัมผัสซ้ำ (Specific target organ toxicity-Repeated exposure)
10) อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบจากการหายใจ (Aspiration Harzardous)
ด้านที่ 2 อันตรายด้านกายภาพ (Physical Hazards) แบ่งเป็น 17 ประเภท
1) วัตถุระเบิด (Explosives)
2) แก๊สไวไฟ (Flammable Gases)
3) สารละอองไวไฟ (Flammable Aerosols)
4) แก๊สออกซิไดซ์ (Oxidizing Gases)
5) แก๊สภายใต้ความดัน (Gases Pressure)
6) ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
7) ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)
8) สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-Reactive Substances and Mixtures)
9) ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric Liquids)
10) ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric Solids)
11) สารเคมีที่เกิดความร้อนได้เอง (Self-Heating Substances and Mixtures)
12) สารเคมีที่สัมผัสน้ำแล้วเกิดแก๊สไวไฟ (Substances and Mixtures, which in contact with water, emit flammable gases)
13) ของเหลวออกซิไดซ์ (Oxidizing Liquids)
14) ของแข็งออกซิไดซ์ (Oxidizing Solids)
15) สารออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides)
16) สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to Metals)
17) วัตถุระเบิดที่ถูกลดความไวในการระเบิด (Desensitized Explosives)
ด้านที่ 3 อันตรายด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Hazards) แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
2) ความเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน
ขอบคุณแหล่งที่มา :
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
http://reg3.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2021/10/doc210964-2.pdf
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ
http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_other/hazardous_Chem.pdf
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://www3.dmsc.moph.go.th/download/files/dmsc_ch_1.pdf