สารเคมี 5 ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในห้องแล็บ
5 อันดับ สารเคมีที่ใช้บ่อยในห้องแล็บและการประยุกต์ใช้งาน
ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วิจัย หรืออุตสาหกรรม ล้วนต้องอาศัย "สารเคมี" หลากหลายชนิด
เพื่อการทดลองและวิเคราะห์ผลอย่างแม่นยำ การเลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมทั้งในแง่คุณภาพ ความบริสุทธิ์ และความปลอดภัยจึงเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการทดลองโดยตรง บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับสารเคมี 5 ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในห้องแล็บ พร้อมทั้งตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide - NaOH)
ถ้าพูดถึงสารเคมีที่อยู่ประจำในห้องแล็บ ต้องมีชื่อของ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) ติดอันดับแน่นอน เพราะเป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีฤทธิ์เป็นเบสแก่ ใช้บ่อยในห้องแล็บสำหรับปรับค่า pH ของสารละลาย หรือเตรียมสารละลายด่างสำหรับการไตเตรต มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวละลายน้ำได้ดี และมีคุณสมบัติกัดกร่อนสูง โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) มักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่ ผงซักฟอก และใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสมก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ
กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid - HCl)
กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) หรือที่หลายคนเรียกสั้น ๆ ว่า HCl เป็นกรดแก่ที่นิยมใช้ในห้องแล็บ มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุนและกัดกร่อนสูง มักใช้ในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการไตเตรตสารละลาย การทดลองที่ต้องการสภาวะกรดหรือการทำปฏิกิริยาเคมีกับโลหะ ในด้านอุตสาหกรรม กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) ถูกนำไปใช้ในการผลิตคลอไรด์ของโลหะ ใช้ทำความสะอาดโลหะ ล้างคราบตะกรันในระบบท่อหรือระบบผลิตน้ำ รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีอื่น ๆ
เอทานอล (Ethanol - C₂H₅OH)
เอทานอล (Ethanol) เป็นสารเคมีที่ใครหลายคนคุ้นเคย เพราะนอกจากจะใช้ในห้องแล็บแล้ว ยังเป็นสารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีลักษณะเป็นของเหลวใสระเหยง่าย ติดไฟง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว โดย เอทานอล (Ethanol) ใช้เป็นตัวทำละลายที่สำคัญในห้องปฏิบัติการวิจัยด้านชีววิทยา เคมี และเภสัชกรรม รวมถึงยังใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์และพื้นที่ปฏิบัติงาน นอกจากในห้องแล็บแล้ว เอทานอล (Ethanol) ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ เจลแอลกอฮอล์ เครื่องสำอาง และใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bioethanol) อีกด้วย
โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (Potassium Permanganate - KMnO₄)
ลักษณะเป็นของแข็งสีม่วงเข้ม ละลายน้ำได้ ให้สารละลายสีม่วง มักถูกใช้ในการทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาออกซิเดชัน หรือเป็นตัวออกซิไดซ์ในการทดลอง ใช้ทดสอบความเข้มข้นของสารต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และใช้ในการกำจัดกลิ่นในระบบน้ำเสียด้วยการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้านการเกษตรมีการใช้ โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (Potassium Permanganate) ในการป้องกันเชื้อราในดิน รวมถึงใช้รักษาโรคเชื้อราในสัตว์น้ำ
แอมโมเนีย (Ammonia - NH₃)
เป็นสารอีกตัวที่มีทั้งในรูปก๊าซและสารละลาย เป็นหนึ่งในสารเคมีพื้นฐานที่ใช้ในปฏิกิริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับไนโตรเจน หรือการควบคุมค่า pH แอมโมเนีย (Ammonia) สามารถละลายน้ำได้ดี มีกลิ่นฉุนจัด และควรใช้งานในพื้นที่ระบายอากาศได้ดี ในด้านอุตสาหกรรม แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยยูเรีย และใช้ในระบบทำความเย็นในโรงงานอาหารหรือห้องเย็นขนาดใหญ่
การใช้งาน สารเคมีในห้องแล็บ ต้องอาศัยความเข้าใจในคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานวิจัยหรือทดลองในห้องแล็บ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ควรเลือกซื้อสารเคมีจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และศึกษาข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ก่อนใช้งานทุกครั้ง
ขอบคุณแหล่งที่มา:
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ
http://www.dss.go.th
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
https://www.tisi.go.th
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์